ปวดน่อง อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อที่ควรรีบรักษา

ปวดน่อง อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อที่ควรรีบรักษา

ปวดน่อง (Calf Pain) มีอาการปวดเกิดขึ้นบนบริเวณน่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณน่องทั้ง 2 ข้าง หรือจะเกิดขึ้นข้างเดียว การรักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละอาการ โดยอาการปวดของแต่ละคนนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการปวดสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ วันนี้เราจะพาทุกท่านนั้นมารู้จักกับอาการปวดน่องและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว  รวมถึงวิธีการรักษาและวิธีป้องกันดูดไขมันที่ไหนดี เพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นอีกครั้ง

อาการปวดน่องเป็นอย่างไร?

ในแต่ละบุคคลนั้น จะมีอาการปวดน่องที่แตกต่างกัน โดยอาการปวดน่องที่สังเกตได้ชัดจะมีลักษณะดังนี้

  • น่องบวมหรือขาบวมที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • น่องมีสีแดงและมีอาการร้อนผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อบริเวณขาอ่อนแรง
  • รู้สึกเจ็บบริเวณน่องผิดปกติและมีอาการชาในบางครั้ง
  • มีสีซีดผิดปกติที่ต่างจากสีผิวหนังเดิม

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดน่อง

อาการปวดน่อง (Calf Pain) ของแต่ละบุคคลนั้น จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดน่องมีดังนี้

  • อาการปวดน่องจากการออกกำลังกาย ซึ่งอาการนี้จะพบเห็นได้บ่อย อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป หรือผู้ที่ออกกำลังกายครั้งแรก รวมถึงการออกกำลังกายที่ไม่ถูกวิธีและการเกิดอุบัติเหตุก็ทำให้เกิดอาการปวดน่องได้เช่นกัน
  • กล้ามเนื้อบริเวณน่องขานั้นเกิดอาการอักเสบ เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมบริเวณน่องและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณนั้น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
  • หนึ่งในสาเหตุของอาการน่องบวมนั้น อาจจะเกิดจากโรคประจำตัวของผู้ป่วยเองได้ โดยที่พบเห็นบ่อยครั้งสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวานและโรคไต เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการปวดน่อง

อาการปวดน่อง (Calf Pain) นั้นจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นในวิธีการรักษาก็จะมีวิธีที่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยสามารถรักษาอาการปวดน่องเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หรือจะเข้าพบแพทย์ทันทีเลยก็ได้ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

1.วิธีดูแลและรักษาตนเอง

หากผู้ป่วยมีอาการปวดน่องที่ไม่รุนแรงก็สามารถรักษาอาการได้ด้วยตนเอง โดยผู้ป่วยนั้นอาจจะทำการประคบเย็น ส่วนการประคบร้อนจะทำหลังจากเกิดอาการปวดเกิดขึ้น 24 ชั่วโมงได้ และรับประทานยาแก้ปวดที่มีขายทั่วไปตามร้านขายยา เช่น ยาพาราเซตามอล

2.วิธีรักษาด้วยแพทย์

หากผู้ป่วยรักษาอาการปวดน่องเบื้องต้นด้วยตนเอง แล้วยังมีอาการปวดที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นก็สามารถเข้าพบแพทย์ได้ทันที โดยการรักษาด้วยแพทย์นั้นจะวินิจฉัยตามอาการ โดยจะมีการตรวจประวัติโรคประจำตัวของผู้ป่วยร่วมด้วยว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดน่องได้ แต่ถ้าหากอาการปวดน่องนั้นเกิดจากการออกกำลังกายหรือการเกิดอุบัติเหตุ ก็จะมีการให้รับประทานยาหรือการฉีดยาบรรเทาอาการปวดและยาที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและลดอาการปวดมากขึ้น

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดน่อง

อาการปวดน่อง (Calf Pain) นั้นจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ซึ่งอาการปวดน่องต่าง ๆ จะมีวิธีป้องกันที่จะช่วยให้ผู้ที่มีอาการปวดมาก ๆ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น โดยมีวิธีป้องกันดังนี้

  • เมื่อต้องออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะเป็นวิธีที่จะช่วยลดการปวดน่องได้ดี
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมหรือหนักจนเกินไป โดยเฉพาะการออกกำลังกายในครั้งแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการปวดน่อง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มีน้ำหนักมากจนเกินไป
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน เพื่อลดและป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากจนเกินไป

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดน่อง ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม สามารถที่จะนำวิธีการรักษาที่เราแนะนำนี้ไปใช้ในการรักษาเบื้องต้น หรือนำวิธีการป้องกันไปใช้เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดน่องเรื้อรัง วิธีที่เราแนะนำนั้นเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย  โดยในแต่ละบุคคลนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าหากมีอาการปวดน่องในระดับที่รุนแรงหรือปวดน่องเฉียบพลัน ก็ควรพบแพทย์ในทันที เพื่อตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคเพื่อรักษาให้ทันท่วงที